วิกฤตภายในและภายนอก ของ จักรพรรดิเปดรูที่ 1 แห่งบราซิล

เรื่องอื้อฉาวราชวงศ์โปรตุเกส

พระบรมสาทิสลักษณ์จักรพรรดิเปดรูที่ 1 แห่งบราซิลขณะมีพระชนมายุ 27 พรรษาระหว่างเสด็จประพาสซัลวาดอร์ รัฐบาเยีย ในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2369

หลังจากการเจรจากันอย่างยาวนาน โปรตุเกสได้ลงนามในสนธิสัญญารีโอเดจาเนโรกับบราซิลในวันที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2368 ซึ่งเป็นการยอมรับความเป็นเอกราชของบราซิล[108] นอกจากยอมรับความเป็นเอกราชของบราซิลแล้ว ข้อกำหนดของสนธิสัญญาอยู่ที่ค่าใช้จ่ายของบราซิล รวมถึงความต้องการสำหรับค่าชดเชยที่จะจ่ายให้กับโปรตุเกสที่ไม่มีความต้องการอื่นๆอีก ค่าชดเชยจะถูกจ่ายให้กับชาวโปรตุเกสทั้งหมดที่อาศัยอยู่ในบราซิลสำหรับการสูญเสียของพวกเขาถูกกระทำมาเช่นทรัพย์สมบัติถูกยึด พระเจ้าฌูเอาที่ 6 ยังทรงได้สิทธิอันชอบธรรมที่จะทรงสถาปนาตนเองเป็นจักรพรรดิแห่งบราซิล[109] ที่น่าอัปยศกว่านั้นคือสนธิสัญญาได้ระบุว่าการได้มาซึ่งอิสรภาพนั้นมาจากการอนุมัติด้วยน้ำพระทัยที่กว้างขวางของพระเจ้าฌูเอาที่ 6 มากกว่าการที่ถูกขับไล่โดยชาวบราซิลด้วยการใช้กำลังบังคับ[110][111] แม้เป็นสิ่งที่แย่กว่าคือ การที่บริเตนใหญ่ได้รับผลประโยชน์จากการที่แสดงบทบาทเป็นผู้ไกล่เกลี่ยโดยการลงนามในสนธิสัญญาที่แยกต่างหากซึ่งสิทธิของตนเชิงพาณิชย์ได้รับการต่ออายุและโดยการลงนามในการประชุมที่บราซิลตกลงที่จะยกเลิกการค้าทาสกับแอฟริกาภายในสี่ปี สนธิสัญญาทั้งสองนี้เป็นอันตรายต่อผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจของบราซิลอย่างรุนแรง[112][113]

ไม่กี่เดือนต่อมา องค์จักรพรรดิทรงรับทราบข่าวการสวรรคตของพระราชบิดาในวันที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2369 และพระองค์ได้สืบราชบัลลังก์โปรตุเกสต่อในฐานะ พระเจ้าเปดรูที่ 4 แห่งโปรตุเกส[114] พระองค์ทรงทราบว่าการรวมกันอีกครั้งของบราซิลและโปรตุเกสเป็นสิ่งที่ประชาชนทั้งสองประเทศยอมรับไม่ได้ พระองค์ทรงรีบสละราชบัลลังก์โปรตุเกส ในวันที่ 2 พฤษภาคม[115][116] ทรงมอบราชบัลลังก์ให้แก่พระราชธิดาองค์โปรด ซึ่งต่อมาคือ สมเด็จพระราชินีนาถมาเรียที่ 2 แห่งโปรตุเกส การสละราชบัลลังก์ของพระองค์มีเงื่อนไข โดยโปรตุเกสต้องยอมรับในรัฐธรรมนูญที่พระองค์ทรงจัดร่างขึ้นและสมเด็จพระราชินีนาถมาเรียที่ 2 ต้องอภิเษกสมรสกับเจ้าชายมิเกล พระอนุชาของพระองค์[114] จักรพรรดิเปดรูที่ 1 ทรงจินตนาการถึงสหภาพนี้ตั้งแต่ปีพ.ศ. 2365 และทรงพยายามโน้มน้าวให้เจ้าชายมิเกลเสด็จกลับมาบราซิล องค์จักรพรรดิทรงเขียนถึงเจ้าชายว่า "จะมีปัญหาการขาดแคลนผู้คนที่บอกไม่ให้เจ้าออกไป...บอกให้พวกมันกินขี้ซะ และพวกมันจะพูดว่าบราซิลกำลังจะถอนตัว เจ้ากำลังจะเป็นกษัตริย์โปรตุเกส บอกพวกมันให้กินขี้อีกครั้ง"[117] โดยไม่คำนึงถึงการสละราชบัลลังก์ จักรพรรดิเปดรูที่ 1 ยังคงมีบทบาทเป็นพระมหากษัตริย์โปรตุเกสที่ไม่อยู่ และทรงเข้ามาแทรกแทรงไกล่เกลี่ยในสถานการณ์ทางการทูตเช่นเดียวกับกิจการภายในของประเทศ เช่น ทรงทำการแต่งตั้ง[118] พระองค์ทรงพบว่ามันเป็นการยากที่เพียงอย่างน้อยที่สุดเพื่อรักษาสถานะของพระองค์ในฐานะสมเด็จพระจักรพรรดิแห่งบราซิลแยกต่างหากจากการทีทรงปกป้องผลประโยชน์ของพระราชธิดาในโปรตุเกส[118]

เจ้าชายมิเกลทรงแสร้งทำตามแผนการของจักรพรรดิเปดรูที่ 1 ทันทีที่เจ้าชายทรงได้รับการสถาปนาขึ้นเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ในต้นปีพ.ศ. 2371 และการที่ได้รับการสนับสนุนจากพระนางคาร์ลอตา โจวควินา พระราชมารดา พระองค์ทรงประกาศยกเลิกรัฐธรรมนูญ จากการสนับสนุนจากชาวโปรตุเกสที่นิยมระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ และทรงสถาปนาพระองค์เองขึ้นเป็น พระเจ้ามิเกลที่ 1 แห่งโปรตุเกส[119] ในฐานะที่ทรงเจ็บปวดจากการทรยศของพระอนุชาที่ทรงรักยิ่ง จักรพรรดิเปดรูยังทรงทรนกับการเอาพระทัยออกห่างของพระเชษฐภคินีและพระขนิษฐาที่ยังทรงพระชนม์อยู่ได้แก่ เจ้าหญิงมาเรีย เทเรซา, เจ้าหญิงมาเรีย ฟรานซิสกา, เจ้าหญิงอิซาเบล มาเรีย และเจ้าหญิงมาเรีย ดา อัสซันโค ซึ่งทั้งหมดทรงไปเข้าเป็นฝ่ายเดียวกับพระเจ้ามิเกลที่ 1[120] มีเพียงพระขนิษฐาองค์สุดท้องของพระองค์คือ เจ้าหญิงอนา เดอ จีซัส มาเรีย เท่านั้นที่ยังทรงจงรักภักดีในองค์จักรพรรดิ[61] และหลังจากนั้นพระนางก็เดินทางไปที่รีโอเดจาเนโรเพื่อใกล้ชิดองค์จักรพรรดิผู้เป็นพระเชษฐาองค์โต[61] ด้วยความชิงชังและทรงเริ่มเชื่อว่าพระเจ้ามิเกลที่ 1 ทรงปลงพระชนม์พระราชบิดา[121] จักรพรรดิเปดรูที่ 1 ทรงสนพระทัยไปที่โปรตุเกสและทรงพยายามอย่างไร้ผลที่จะทรงรวบรวมการสนับสนุนระหว่างประเทศเพื่อสิทธิอันชอบธรรมของพระราชธิดา สมเด็จพระราชินีนาถมาเรียที่ 2[122]

สงครามและการตกพุ่มหม้าย

การเฉลิมฉลองในจตุรัสเซา ฟรานซิสโก เดอ เปาลา, กรุงรีโอเดจาเนโร เพื่อต้อนรับจักรพรรดิเปดรูที่ 1 จากการเสด็จกลับมาจากรัฐบาเยีย ในวันที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2369

จากการสนับสนุนโดยสหรัฐแห่งรีโอเดลาพลาตา (ปัจจุบันคือ ประเทศอาร์เจนตินา) กลุ่มคนเล็กๆได้ประกาศดินแดนทางภาคใต้ในแคว้นคิสพลาตินาเป็นเอกราชในเดือนเมษายน พ.ศ. 2368[123] รัฐบาลบราซิลเป็นครั้งแรกที่รับรู้ถึงการพยายามที่จะแยกตัวในการลุกฮือเล็กๆ มันใช้เวลาหลายเดือนก่อนที่จะเป็นภัยคุกคามที่ยิ่งใหญ่ซึ่งเกิดจากการเข้ามามีส่วนร่วมจากสหรัฐรีโอเดลาพลาตา ซึ่งพยายามผนวกคิสพลาตินา ก่อให้เกิดความกังวลอย่างรุนแรง โดยการตอบโต้ จักรวรรดิประกาศสงครามในเดือนธันวาคมนำมาซึ่งวิกฤตสงครามคิสพลาทีน[124] องค์จักรพรรดิเสด็จเยือนรัฐบาเยีย (ตั้งอยู่ที่ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) ในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2369 เสด็จพร้อมพระมเหสีและพระราชธิดา พระนางมาเรีย องค์จักรพรรดิทรงได้รับการต้อนรับอย่างอบอุ่นจากประชาชนในรัฐบาเยีย[125] การเดินทางครั้งนี้ถูกวางแผนเพื่อสร้างแรงสนับสนุนจากความพยายามในสงคราม[126]

คณะผู้ติดตามราชวงศ์รวมทั้ง โดมิทิลา เดอ คัสโตร (จากนั้นคือ วิสเคานท์เตสและต่อมาคือ มาคิโอเนสแห่งซานโตส) ซึ่งเป็นนางสนมในจักรพรรดิเปดรูที่ 1 ตั้งแต่พระองค์ทรงพบนางครั้งแรกในปีพ.ศ. 2365 แม้ว่าพระองค์จะไม่ทรงเคยซื่อสัตย์กับพระนางมาเรีย ลีโอโพลดิน่า ก่อนหน้านี้พระองค์ทรงปกปิดความสัมพันธ์ทางเพศของพระองค์กับสตรีคนอื่นๆ[127] แต่ความหลงใหลในคนรักใหม่ของพระองค์ "ได้กลายเป็นทั้งที่เห็นได้ชัดและไร้ขีดจำกัด"[128] ในขณะที่พระมเหสีของพระองค์ทรงทนกับการถูกมองข้ามและทรงกลายเป็นเป้าหมายของการนินทา[128] จักรพรรดิเปดรูที่ 1 ทรงปฏิบัติพระองค์ไม่สุภาพและมีพระทัยร้ายต่อพระนางมาเรีย ลีโอโพลดิน่ามากขึ้นโดยทรงให้พระราชทรัพย์แก่พระนางน้อยลง, ห้ามพระนางเสด็จออกจากพระราชวังและบังคับให้พระนางต้องยอมรับโดมิทิลาในฐานะนางสนองพระโอษฐ์ของพระนาง[129][130] ในขณะเดียวกันคนรักใหม่ขององค์จักรพรรดิก็ใช้ประโยชน์จากความก้าวหน้าของนางเช่นเดียวกับครอบครัวของเธอและมิตรสหาย ซึ่งแสวงหาความโปรดปรานหรือเพื่อส่งเสริมโครงการต่างๆมากขึ้นโดยขอความช่วยเหลือจากนาง โดยการอ้อมทางปกติของช่องทางกฎหมาย[131]

ในวันที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2369 จักรพรรดิเปดรูที่ 1 เสด็จทางเรือจากรีโอเดจาเนโรไปยังเมืองเซา โจเซในรัฐซันตากาตารีนา จากที่นี่พระองค์ทรงม้าไปที่ปรอโตอเลกรีเมืองหลวงของรัฐรีโอกรันดีโดซูลที่กองทัพใหญ่ถูกส่งไปประจำที่นั่น[132] เมื่อพระองค์เสด็จถึงในวันที่ 7 ธันวาคม องค์จักรพรรดิทรงพบความเคยชินกับกองทัพมากกว่าการรายงานก่อนหน้านี้ที่ทรงคาดหวัง พระองค์ "ทรงตอบสนองด้วยพลังตามปกติของพระองค์ พระองค์ทรงผ่านคำสั่งที่วุ่นวาย, พระองค์ทรงมีชื่อเสียงจากการไล่คนกินสินบนและคนไร้ความสามารถ, ทรงสนิทสนมกับทหารและทรงรวมการบริหารกองทัพและพลเมืองทั่วไป"[133] พระองค์กำลังพร้อมเสด็จกลับไปยังรีโอเดจาเนโร[134] เมื่อพระองค์ทรงรับทราบข่าวการสิ้นพระชนม์ของพระนางมาเรีย ลีโอโพลดิน่า จากการที่ทรงแท้ง[133][135] ข่าวลือที่ไม่มีมูลความจริงได้แพร่กระจายไปทั่วเมืองหลวบราซิลที่ว่าพระนางสิ้นพระชนม์หลังจากทรงถูกทำร้ายร่างกายโดยจักรพรรดิเปดรูที่ 1

สงครามยังคงดำเนินต่อไปโดยยังไม่เห็นข้อสรุป ในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2371 ทหารรับจ้างชาวไอริชและเยอรมันได้ก่อการจลาจลที่รีโอเดจาเนโร[136][137]ในเหตุการณ์กบฏทหารรับจ้างไอริชและเยอรมัน ด้วยไม่พอใจสภาพความเป็นอยู่ที่รุนแรงในค่ายทหารบราซิล ชาวต่างชาติที่ยอมรับสินบนของสหรัฐรีโอเดลาพลาตาอย่างง่ายดายไม่เพียงแค่การก่อกบฏ แต่เพื่อทำการจับกุมองค์จักรพรรดิเพื่อที่พระองค์จะเป็นองค์ประกันเป็นเบี้ยต่อรอง[138][139] กบฏทหารรับจ้างถูกปราบปรามอย่างนองเลือด จากนั้นในภายหลังจักรพรรดิเปดรูที่ 1 ทรงสละคิสพลาตินาในเดือนสิงหาคมและจังหวัดนั้นก็กลายเป็นประเทศเอกราชอุรุกวัย[140][141]

การอภิเษกสมรสครั้งที่สอง

พระราชพิธีอภิเษกสมรสระหว่างจักรพรรดิเปดรูที่ 1 กับเจ้าหญิงอเมลีแห่งเลาช์เทนเบิร์ก ถัดจากพระองค์ ตามลำดับความสำคัญ คือ พระราชโอรสธิดาที่ประสูติแต่พระนางมาเรีย ลีโอโพลดิน่า ได้แก่ เจ้าชายเปดรู, เจ้าหญิงยาโนเรีย, เจ้าหญิงเปาลา และ เจ้าหญิงฟรานซิสกา

หลังจากการสิ้นพระชนม์ของพระมเหสี จักรพรรดิเปดรูที่ 1 ทรงตระหนักว่าพระองค์ทรงเคยทำให้พระนางต้องทุกข์ทรมาน และความสัมพันธ์ระหว่างพระองค์กับโดมิทิลาเริ่มแตกสลาย พระนางมาเรีย ลีโอโพลดิน่าไม่ทรงเหมือนกับพระสนมของพระองค์ พระนางทรงเป็นที่นิยมชมชอบ ซื่อสัตย์และรักพระองค์โดยไม่หวังสิ่งตอบแทน จักรพรรดิทรงงคิดถึงพระนางอย่างมากและแม้กระทั่งการครอบงำความคิดของพระองค์โดยโดมิทิลาก็ล้มเหลวที่จะเอาชนะความรู้สึกสูญเสียและเสียใจของพระองค์[142] วันหนึ่งโดมิทิลาพบพระองคทรงกันแสงอยู่บนพื้นและกอดพระสาทิสลักษณ์พระมเหสีผู้ล่วงลับของพระองค์ ซึ่งจักรพรรดิเปดรูที่ 1 ทรงกล่าวว่าทรงพบดวงพระวิญญาณที่เศร้าโศกของพระนาง[143] ต่อมาเมื่อองค์จักรพรรดิเสด็จออกจากแท่นบรรทมที่ประทับร่วมกับโดมิทิลาและทรงตะโกนว่า "ออกไปจากข้านะ! ข้ารู้ว่าข้ามีชีวิตไม่คู่ควรกับการเป็นพระประมุข ความคิดถึงองค์จักรพรรดินีจะไม่ออกไปจากใจข้า"[144][145] พระองค์ไม่ทรงลืมพระโอรสธิดาของพระองค์ที่กำพร้าพระมารดาและได้สังเกตว่าครั้งหนึ่งพระองค์ทรงอุ้มพระราชโอรส เจ้าชายเปดรู และตรัสว่า "เจ้าเด็กผู้โชคร้าย ลูกเป็นเจ้าชายที่ไร้สุขที่สุดในโลก"[146]

ด้วยคำยืนกรานของจักรพรรดิเปดรูที่ 1 โดมิทิลาได้ออกจากรีโอเดจาเนโรในวันที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2371[147] พระองค์ตัดสินพระทัยที่จะอภิเษกสมรสอีกครั้งและจะเป็นคนดี พระองค์ยังทรงพยายามเกลี้ยกล่อมพระสัสสุระ (พ่อตา) ของพระองค์ด้วยความจริงใจ โดยทรงอ้างในจดหมายที่ว่า "ความชั่วช้าของกระหม่อมหมดสิ้นแล้ว และกระหม่อมจะไม่ตกอยู่ภายใต้ข้อผิดพลาดเหล่านี้อีกครั้งซึ่งกระหม่อมเสียใจและขอให้พระผู้เป็นเจ้าทรงให้อภัย"[148] สมเด็จพระจักรพรรดิฟรันซ์ที่ 2 ทรงน้อยที่จะทรงเชื่อ องค์จักรพรรดิออสเตรียที่ทรงขุ่นเคืองพระราชหฤทัยลึกๆที่พระราชธิดาของพระองค์ต้องทรงทนทรมาน พระองค์ทรงถอนการสนับสนุนสำหรับความสัมพันธ์กับบราซิลและทรงผิดหวังในผลประโยชน์ของจักรพรรดิเปดรูที่ 1 ในโปรตุเกส[149]

เนื่องมาจากชื่อเสียงที่ไม่ดีของจักรพรรดิเปดรูที่ 1 ในยุโรป จากพฤติกรรมในอดีตของพระองค์ เหล่าเจ้าหญิงจากหลายๆชาติปฏิเสธข้อเสนออภิเษกสมรสกับพระองค์[119] ความภาคภูมิใจของพระองค์ต้องด่างพร้อย พระองค์ทรงอนุญาตให้พระสนมกลับมา ซึ่งนางกลับมาในวันที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2372 หลังจากห่างหายไปเกือบหนึ่งปี[148][150] อย่างไรก็ตามเมื่อพระองค์ทรงทราบว่าในที่สุดพิธีหมั้นได้ถูกจัดขึ้น องค์จักรพรรดิทรงยุติความสัมพันธ์กับโดมิทิลาอีกครั้งหนึ่งและตลอดไป นางเดินทางกลับไปยังจังหวัดบ้านเกิดที่เซาเปาลูในวันที่ 27 สิงหาคม ซึ่งนางยังคงพำนักอยู่ที่นั่นตลอด[151] วันก่อนหน้าเมื่อวันที่ 2 สิงหาคม องค์จักรพรรดิทรงอภิเษกสมรสผ่านตัวแทนกับเจ้าหญิงอเมลีแห่งเลาช์เทนเบิร์ก[152][153] แม้ว่าพระนางจะทรงมีบรรดาศักดิ์ต่ำเมื่อประสูติ[154][155] พระองค์ทรงตะลึงในความสิริโฉมของพระนางหลังจากทรงพบกับพระนาง[156][157] คำสาบานที่จะอภิเษกสมรสที่ผ่านตัวแทนก่อนหน้านี้เป็นที่ยอมรับในศีลสมรสวันที่ 17 ตุลาคม[158][159]